[Thai] [English]

รองศาสตราจารย์ ดร. ดุลยโชติ ชลศึกษ์
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล

 
  สถานที่ติดต่อ

      ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
      ต. คลองหนึ่ง อ. คลองหลวง จ. ปทุมธานี 12120
      โทร 0-2564-3001 ต่อ 3149  แฟกซ์  0-2564-3023

      อีเมล   cdulyach@engr.tu.ac.th
      เวปไซต์ http://www.dulyachot.me.engr.tu.ac.th
      เฟซบุ๊ค  https://www.facebook.com/dulyachot

 
  การศึกษา


     Ph.D. (Mechanical Engineering), Columbia University, New York. (ทุนกระทรวงวิทยฯ)
                 วิทยายิพนธ์: Optimum and Robust Geometric Design of Mechanical Parts
     วศ.บ.  (วิศวกรรมเครื่องกล) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Intania72)
     มัธยมปลาย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (OSK107)

  ประสบการณ์
  2544 - ปัจจุบัน อาจารย์ประจำ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ สอนวิชา  Mechanical Design, Mechanics of Materials, Engineering Piping System Design, และ Engineering Graphics.
  2566 - ปัจจุบัน ผู้ช่วยคณบดี ฝ่ายการนักศึกษา
  2551 - 2557 หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  2548 - 2551 รองผู้อำนวยการโครงการวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิตสองสถาบัน และโครงการวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิตภาคภาษาอังกฤษ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  2536 - 2539 วิศวกรเครื่องกล/หัวหน้าแผนก บริษัทอาเชียนมารีน เซอร์วิสส์ จำกัด (มหาชน) รับผิดชอบงานวิศวกรรมและการวางแผนการสร้างเรือเดินสมุทร
  2535 - 2536 วิศวกรเครื่องกล บริษัทมหิศร จำกัด บริษัทที่ปรึกษางานระบบสุขาภิบาลและปรับอากาศ โครงการก่อสร้าง SCB Head Office Complex
 


 



 

   
  งานวิจัยที่สนใจ  
 
  • การออกแบบที่เหมาะสมที่สุดอย่างมีเสถียรภาพของชิ้นส่วนและระบบทางกล
  • การออกแบบรูปร่างและโครงสร้างที่เหมาะสมที่สุด
  • การออกแบบพาหนะพับได้
  • การเลียนแบบกลไกชีวะในธรรมชาติ

 

 
  ตำรา  
 
  • ตำราเรื่อง การออกแบบที่เหมาะสมที่สุดของชิ้นส่วนทางกล ดุลยโชติ ชลศึกษ์ 2551 (มิ.ย.)  

  • ตำราเรื่อง การออกแบบระบบท่อทางวิศวกรรม ดุลยโชติ ชลศึกษ์ 2562 (ส.ค.)

  • เอกสารคำสอนวิชา ME397 Machine Design ดุลยโชติ ชลศึกษ์ 2553 (มี.ค.)

 
 

 



 
  บทความวิจัย  

    

  • Promsurin Phutthammawong, Phurichaya Angbunthorn, Phisan Kaewprapha and Dulyachot Cholaseuk, 2020, Artificial Intelligence Autonomous Vehicle for the Blind, การประชุมทางวิศวกรรมไฟฟ้า ครั้งที่ 43 (EECON-43), 28-30 ตุลาคม 2563 มหาวิทยาลัยนเรศวร

  • Attakorn Suwananthawong and Dulyachot Cholaseuk, 2020, A Study on Ergonomic Egg-shaped Four-bar Linkage Propulsion Mechanism for Manual  Wheelchair, International Transaction Journal of Engineering, Management, & Applied Sciences & Technologies. Volume 11 No.13

  • Pornprom Pahubutra and Dulyachot Cholaseuk, 2020, A Road Test Study on Speed Sensitive Collapsible Mechanical Speed Bump, International Transaction Journal of Engineering, Management, & Applied Sciences & Technologies. Volume 11 No.1

  • Cholaseuk, D., 2017, Development of a Speed Sensitive Collapsible Mechanical Speed Bump, The 5th International Conference on Engineering, Energy and Environment.   1 - 3 November 2017, Arnoma Grand Bangkok Hotel, Thailand

  • Yomchinda T. and Cholaseuk, D., 2015, Modelling of Tire Response for the Study of Speed Bump Profiles, การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทยครั้งที่ 29   บทความหมายเลข CST-1422537978

  • วิโรจน์ ตรีมงคล, ดุลยโชติ ชลศึกษ์ และ พินัย ทองสวัสดิ์วงศ์, 2557, การพัฒนาเครื่องกระเทาะเมล็ดมะขาม, การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 9 ประจำปี 2557

  • Cholaseuk, D., 2013, Optimum Design of Disk Structure under Planar Loads, Thammasat International Journal of Sciences and Technology, Vol. 18, No. 4, October-December 2013
  • Prommas, R., Rattanadecho, P. and  Cholaseuk, D., 2010 Energy and exergy analyses in drying process of porous media using hot air, International Communications in Heat and Mass Transfer 37 (2010) 372–378

  • พงศ์สินธุ์ ธนวัฒน์เสรี และ ดุลยโชติ ชลศึกษ์ 2552 การออกแบบที่เหมาะสมที่สุดของกลไกขับเคลื่อนแบบรอมบิกสำหรับ เครื่องยนต์สเตอลิงกระบอกสูบเดียวแบบเบต้า การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทยครั้งที่ 23 บทความหมายเลข CST019307
  • พงศ์สินธุ์ ธนวัฒน์เสรี และ ดุลยโชติ ชลศึกษ2551 การศึกษาการคำนวณกำลังบ่งชี้จากเครื่องยนต์สเตอลิงแบบเบต้ากระบอกสูบเดียว การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทยครั้งที่ 22 บทความหมายเลข CST022

  • ดุลยโชติ ชลศึกษ์ และ ธนพล จูนจีน 2551 การออกแบบที่เหมาะสมที่สุดแบบพาเรโตของแผ่นเหล็กลอนเพื่อให้มีอัตราส่วนความแข็งแรงต่อน้ำหนักสูงสุด โดยใช้กระบวนการขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทยครั้งที่ 22 บทความหมายเลข CST028
  • ดุลยโชติ ชลศึกษ์ 2549 การออกแบบรูปร่างของชิ้นส่วนทางกลที่รับภาระไม่คงที่ด้วยการกระจายวัสดุที่เหมาะสม  การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทยครั้งที่ 20 บทความหมายเลข CST002  
  • Cholaseuk, D., 2006. A Stress-Based Material Distribution Method for Optimum Shape Design of Mechanical Parts.  Thammasat International Journal of Science and Technology, Vol. 11, No. 3, July-September 2006.
  • ดุลยโชติ ชลศึกษ์  2548 การออกแบบคานที่ทำจากวัสดุเชิงประกอบแบบเส้นใยต่อเนื่องทิศทางเดียว โดยการวางเส้นใยตามแนวเส้นทางของความเค้นหลัก วารสารวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2548
  • ดุลยโชติ ชลศึกษ์ 2546  การออกแบบรูปร่างที่เหมาะสมของชิ้นส่วนเครื่องจักรกลสำหรับหลายจุดทำงาน  การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทยครั้งที่ 17 บทความหมายเลข MM001 

  • Cholaseuk, D., Srinivasan, V. and Modi, V., 2000. Robustness in optimum design of mechanical parts.  Proceedings of the 2000 ASME Design Engineering Technical Conferences, Baltimore, Maryland. Paper number DETC2000/CIE-14652.
  • Cholaseuk, D., Srinivasan, V. and Modi, V., 1999. Optimum design of fluid flow devices using Bezier curves and designed numerical experiments.  Proceedings of the 1999 ASME Design Engineering Technical Conferences, Las Vegas, Nevada. Paper number DETC99/CIE-9116.



 


 


 


 

 

  สิ่งประดิษฐ์  

Self Operated Shoulder Rehabilitation Device
อุปกรณ์สำหรับช่วยให้ผู้ที่มีอาการกล้ามเนื้อแขนอ่อนแรงข้างเดียว ทำการกายภาพบำบัดด้วยตนเองโดยใช้แขนข้างที่แข็งแรงเป็นปกติมาขยับแขนข้างที่อ่อนแรง อุปกรณ์นี้ใช้รอกและสายสลิงในการส่งผ่านแรงและการเคลื่อนที่จากแขนข้างที่แข็งแรงไปยังข้างที่อ่อนแรง ด้วยระบบเชิงกลที่ใช้งานง่ายและต้นทุนต่ำ  ผู้ประดิษฐ์มีมุ่งหมายว่าอุปกรณ์นี้จะช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการกายภาพบำบัดของผู้ที่มีอาการอัมพาตครึ่งซีก
 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนาต้นแบบรุ่นที่ 3 เพื่อลดน้ำหนักและเพิ่มข้อต่อข้อศอก <วิดีโอ>
  • อนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่ 22327 วันที่ 25 ส.ค. 66  นักศึกษาผู้พัฒนาผลงานประกอบด้วบ สิทธิชัย แสงสิริไพบูลย์ และ ธเนศ ทรัพย์รวงทอง (2563), ชยาวีร์ ศรีเกตุ และ Cheng-Yu Chang (2562)
  • รางวัลเหรียญเงิน การประกวดผลงานนวัตกรรมอุดมศึกษา ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 จัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ จากผลงาน กลไกสวมใส่เพื่อการกายภาพหัวไหล่และข้อศอกด้วยตนเอง โดย นายพงศกร งามพักตรา นายพิสิษฐ์ พีระยุวัฒน์ นายสิทธิชัย แสงสิริไพบูลย์ นางสาวกอรัก สรสวัสดิ์ และนางสาวสุณิสา ขุนสุข โดยมี รศ.ดร.ดุลยโชติ ชลศึกษ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา  (4 ส.ค. 65)


Intelligent Screening System for Bicycle Lane

ระบบคัดกรองอัจฉริยะ ช่วยแก้ปัญหาจักรยานยนต์เข้าไปวิ่งในช่องทางจักรยาน โดยใช้กล้องวีดีโอส่งภาพไปยังรับบประมวลผลที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อวิเคราะห์ภาพ และแจกแจงชนิดวัตถุ โดยจะสั่งไม้กั้นเปิดให้จักรยานผ่านได้เท่านั้น
 <วิดีโอ>
  • รางวัลชนะเลิศ  โครงการประกวดนวัตกรรมยานยนต์ครั้งที่ 10 ในงานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 36 จากผลงาน ระบบคัดกรองอัจฉริยะสำหรับเลนจักรยาน โดย สุริยา สารธิมา และ เทพพงษ์ เทพวงศ์ศิริรัตน์ โดยมี รศ.ดร.ดุลยโชติ ชลศึกษ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา (30 พ.ย. 62) <รายละเอียด><ข่าว>
  • รางวัลเหรียญเงิน การประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับอุดมศึกษา ในงานวันนักประดิษฐ์ประจำปี 2563 จัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ จากผลงาน ระบบคัดกรองอัจฉริยะสำหรับเลนจักรยาน โดย สุริยา สารธิมา และ เทพพงษ์ เทพวงศ์ศิริรัตน์ โดยมี รศ.ดร.ดุลยโชติ ชลศึกษ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา  (6 ก.พ. 63) <รายละเอียด>

Artificial Intelligent Autonomous Vehicle for the Blinds
พาหนะนี้สร้างขึ้นโดยการนำสูกเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อนล้อหน้ามาดัดแปลงให้เป็นแพลตฟอร์มสามล้อยืนขับ พร้อมเพิ่มกลไกบังคับเลี้ยวอัตโนมัติด้วยเซอร์โวมอเตอร์ ซึ่งสามารถเปลี่ยนโหมด auto และ manual ด้วยโซลินอยด์ สำหรับส่วนควบคุมอัตโนมัติ ได้นำกล้องสามมิติพร้อมเซ็นเซอร์วัดระยะหลายรูปแบบ มาใช้เป็นตาของพาหนะ และพัฒนาโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ทำงานบน Intel NUC สื่อการกับระบบบังคับเลี้ยวและขับเคลื่อนผ่าน robot operating system เพื่อทำการประมวลผลสร้างแผนที่เส้นทาง ขับเคลื่อนพาหนะไปยังจุดหมายที่กำหนด โดยสามารถหลบหลีกสิ่งกีดขวางระหว่างทางได้
 <วิดีโอ>
  • รางวัลเหรียญทอง  การประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2563 จากผลงาน ยานพาหนะปัญญาประดิษฐ์ขับเคลื่อนอัตโนมัติสำหรับผู้พิการทางสายตา  โดย ภูริชญา อังบุญธร, พัชรวรรณ ศรีเดช และ พรหมสุรินท์ พุทธรรมวงศ์ โดยมี ผศ.ดร.พิศาล แก้วประภา และ รศ.ดร.ดุลยโชติ ชลศึกษ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา (5 ส.ค. 63) <ประกาศผล>
  • รางวัลเหรียญเงิน การประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับอุดมศึกษา ในงานวันนักประดิษฐ์ประจำปี 2563 จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ จากผลงาน  ยานพาหนะปัญญาประดิษฐ์ขับเคลื่อนอัตโนมัติสำหรับผู้พิการทางสายตา โดย ภูริชญา อังบุญธร, พัชรวรรณ ศรีเดช และ พรหมสุรินท์ พุทธรรมวงศ์ โดยมี ผศ.ดร.พิศาล แก้วประภา และ รศ.ดร.ดุลยโชติ ชลศึกษ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา  (6 ก.พ. 63) <รายละเอียด>
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1  โครงการประกวดนวัตกรรมยานยนต์ครั้งที่ 10 ในงานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 36 จากผลงาน ยานพาหนะปัญญาประดิษฐ์ขับเคลื่อนอัตโนมัติสำหรับผู้พิการทางสายตา  โดย ภูริชญา อังบุญธร, พัชรวรรณ ศรีเดช และ พรหมสุรินท์ พุทธรรมวงศ์ โดยมี ผศ.ดร.พิศาล แก้วประภา และ รศ.ดร.ดุลยโชติ ชลศึกษ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา (30 พ.ย. 62) <รายละเอียด><ข่าว>

Manual Wheelchair with Egg-shaped Driving Mechanism to Reduce Fatigue
 
วีลแชร์แบบดั้งเดิมทั่วไปใช้มือจับหมุนขอบล้อเพื่อขับเคลื่อนซึ่งมีท่าทางในการขับเคลื่อนที่ไม่เป็นไปตามหลักสรีรศาสตร์ทาให้เกิดอาการเมื่อยล้า และ บาดเจ็บบริเวณแขน ไหล่ และข้อมือได้ มีงานวิจัยจากหลายแหล่งระบุว่าเส้นทางเหมาะสมที่สุดในการใช้มือขับเคลื่อนวีลแชร์คือเส้นทางรูปไข่ คณะผู้วิจัยจึงได้ทำการออกแบบวิธีการขับเคลื่อนชนิดใหม่ที่ใช้กลไกสี่ข้อต่อสร้างเส้นทางการขับเคลื่อนเป็นรูปไข่ ทำให้ได้ประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนที่ดีที่สุด โดยที่ผู้ใช้ออกแรงน้อย และใช้ท่าทางการเคลื่อนที่ที่เหมาะสมในการขับเคลื่อน ช่วยลดอาการเมื่อยล้าและลดโอกาสที่จะบาดเจ็บ ซึ่งจากการทดสอบการใช้งานโดยใช้เครื่องวัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อเปรียบเทียบกับวีลแชร์แบบดั้งเดิมพบว่ามีการใช้กล้ามเนื้อหัวไหล่ลดลงอย่างชัดเจน   *ผลงานนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากมูลนิธิทาคาฮาชิ  <วิดีโอ>
  • รางวัลเหรียญทอง  การประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2563 จากผลงาน  วีลแชร์ที่ใช้กลไกการขับเคลื่อนรูปไข่เพื่อลดอาการเมื่อยล้า โดย นายอรรถกร สุวนันทวงศ์  นายชยางกูร เหมกุล และ นางสาวสิริกาญจนา โตยะวณิช   โดยมี  รศ.ดร.ดุลยโชติ ชลศึกษ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา (5 ส.ค. 63) <ประกาศผล>
  • รางวัลเหรียญเงิน การประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับอุดมศึกษา ในงานวันนักประดิษฐ์ประจำปี 2563  จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ จากผลงาน  วีลแชร์ที่ใช้กลไกการขับเคลื่อนรูปไข่เพื่อลดอาการเมื่อยล้า โดย นายอรรถกร สุวนันทวงศ์  นายชยางกูร เหมกุล และ นางสาวสิริกาญจนา โตยะวณิช   โดยมี  รศ.ดร.ดุลยโชติ ชลศึกษ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา  (6 ก.พ. 63) <รายละเอียด>

 

TU-V Tiny Urban Vehicle
TU-V
เป็นสกูเตอร์ไฟฟ้า ที่สามารถพับเป็นกระเป๋าเดินทางขนาดเล็กอย่างง่ายดาย เมื่อพับแล้วสามารถเคลื่อนย้ายด้วยล้อลากและจัดเก็บในท้ายรถได้  สกูเตอร์นี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของทั้งผู้สูงอายุ และบุคคลทั่วไป  <วิดีโอ: TU-V> <วิดีโอ: TU-V2> <วิดีโอ: สาธิตการใช้งาน>
  • อนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่ 17182 วันที่ 15 ม.ค. 2564
  • รางวัลต้นแบบยอดเยี่ยม จากการแข่งขัน Student Innovation Challenge ในงาน International Convention on Rehabilitation Engineering and Assistive Technology (i-CREATe) ครั้งที่ 12 ณ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน จากผลงาน "TU-V Tiny Urban Vehicle" โดย วัศพล สินทรัพย์, เมธัส น้ำผุด, ปฏิภาณ หาญตระกูล, อภิวัฒน์ เอี่ยมพิบูลย์วัฒนา และ พิรงรอง นิลพงษ์ โดยมี รศ. ดร. ดุลยโชติ ชลศึกษ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ( 14-16 ก.ค. 2561) <รายละเอียด>
  • รางวัลชนะเลิศ  โครงการรางวัลนักคิดสิ่งประดิษฐ์รุ่นใหม่ประจำปี 2561 ระดับอุดมศึกษา ในกลุ่มสิ่งประดิษฐ์เพื่อการแพทย์และสาธารณสุข ในงานวันนักประดิษฐ์ 2561 จัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ จากผลงาน TU-V  Tiny Urban Vehicle พาหนะส่วนบุคคลที่พับเป็นกระเป๋าได้ โดย วัศพล สินทรัพย์ และ เมธัส น้ำผุด โดยมี รศ. ดร. ดุลยโชติ ชลศึกษ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา (6 ก.พ. 61) <รายละเอียด>
  • รางวัลชนะเลิศ  โครงการประกวดนวัตกรรมยานยนต์ครั้งที่ 8 ในงานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 34 จากผลงาน TU-V  Tiny Urban Vehicle พาหนะส่วนบุคคลที่พับเป็นกระเป๋าได้ โดย วัศพล สินทรัพย์ และ เมธัส น้ำผุด โดยมี รศ. ดร. ดุลยโชติ ชลศึกษ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา (2 ธ.ค. 60) <รายละเอียด>  <ข่าว>

Go All Scooter
สกูเตอร์ไฟฟ้าที่มีล้อหน้าสองล้อ และล้อหลังหนึ่งล้อเป็นล้อขับเคลื่อน มีระบบกันสะเทือนทุกล้อ มีน้ำหนักเบา สามารถพับเป็นกระเป๋าเดินทางขนาดเล็กอย่างง่ายดายโดยใช้กลไกที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษ พัฒนาให้กับบริษัท เมอริท อินโนเวชั่น จำกัด โดย นายพงศกร ชัยวัฒนโยธิน และนาย สุมนตรี อัญชลิพงษ์ โดยมี รศ. ดร. ดุลยโชติ ชลศึกษ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
  • อนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่ 14417 วันที่ 20 มี.ค. 61 บริษัท เมอริท อินโนเวชั่น จำกัด
  • รางวัลดีเด่น จากการประกวดนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Innovation Award) ครั้งที่ 4 ประจำปี 2559 จัดโดย ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TUIPI) จากผลงาน การพัฒนาสกูเตอร์แบบพับได้ที่มีระบบกันสะเทือนทุกล้อ โดย จิรายุ สีขาว และ ณัฐวุฒิ งามประเสริฐ โดยมี รศ. ดร. ดุลยโชติ ชลศึกษ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา (22 ก.ย. 59) <ประกาศผล>

 

Hybrid Motorcycle Add-on Kit
ชุดแปลงจักรยานยนต์ไฮบริด ใช้มอเตอร์ล้อขนาด 4 นิ้วมาขับเคลื่อนล้อหน้าของจักรยานยนต์ ทำให้จักรยานยนต์ทั่วไปกลายเป็นจักรยานยนต์ไฮบริด โดยไม่ต้องมีการดัดแปลง <วิดีโอ>
  • อนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่ 21404 วันที่ 19 เม.ย. 2566

  • รางวัลชนะเลิศ  โครงการประกวดนวัตกรรมยานยนต์ครั้งที่ 6 ในงานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 32 จากผลงาน ชุดแปลงจักรยานยนต์ไฮบริด (Motorcycle Hybrid - Hybrid Motorcycle Add-on Kit) โดย กฤษติน ยศวิปาน และ ชลิตา งามศรีวิเศษ โดยมี รศ. ดร. ดุลยโชติ ชลศึกษ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา (4 ธ.ค. 58) <รายละเอียด>

Speed  Pack / Backpacking
พาหนะไฟฟ้ารูปแบบใหม่ที่สามารถพับเป็นเป้สะพายหลัง ผลงานนี้เป็นการทดลองออกแบบ ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาพาหนะที่ใช้งานได้จริง TU-V ในภายหลัง
<วิดีโอ>
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1  โครงการประกวดนวัตกรรมยานยนต์ครั้งที่ 5 ในงานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 31 จากผลงาน BACKPACKING - รถไฟฟ้าที่สามารถพับเป็นเป้สะพายหลัง โดย วิจิตรา เสริมจันทร์ และ ณัฐพงษ์ ศินารา โดยมี รศ. ดร. ดุลยโชติ ชลศึกษ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา  (29 พ.ย. 57) <รายละเอียด>
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขันนวัตรกรรมการออกแบบสามมิติครั้งที่ 1 "นวัตกรรมพาหนะแบบพกพาสำหรับคนเมือง" ในงาน SolidWorks Executive Conference จากผลงาน  SPEED PACK  โดย จักรพงษ์ ทรัพย์พลอย และ ภาณุพงษ์ เปรมประเสริฐ โดยมี รศ. ดร. ดุลยโชติ ชลศึกษ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา  (3 ธ.ค. 56) <รายละเอียด>

Automatic Speed Bump
ลูกระนาดชะลอความเร็วถูกใช้เพื่อชะลอความเร็วรถที่วิ่งผ่านถนนที่มีผู้คนหนาแน่น แต่ด้วยรูปร่างที่ไม่เหมาะสมทำให้ผู้โดยสารในรถได้รับความกระทบกระเทือน หรืออาจได้รับอันตราย รวมทั้ง เกิดความเสียหายต่อช่วงล่างของรถ แม้จะวิ่งช้าแล้วก็ตาม  ลูกระนาดชะลอความเร็วอัตโนมัติจึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อแก้ปัญหา ด้วยการพับเรียบหากรถวิ่งผ่านด้วยความเร็วต่ำ และล็อคเป็นสันชันเพื่อลงโทษรถที่วิ่งเร็ว
<วิดีโอ>

  • สิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่ 93609   ชื่อการประดิษฐ์ "สันชะลอความเร็วรถยนต์แบบพับได้อัตโนมัติโดยใช้กลไกลูกตุ้ม"    วันที่ 11 พ.ค. 66
  • รางวัลเหรียญเงิน ในโครงการรางวัลนักคิดสิ่งประดิษฐ์รุ่นใหม่ ประจำปี 2561 ในงานวันนักประดิษฐ์ 2561 จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ จากผลงานเ ลูกระนาดชะลอความเร็วอัตโนมัติ V5 โดย ธนะโชค ตองอ่อน, เอนกพล เติมทานาม และ ณภัทร ผลวงษ์ โดยมี รศ. ดร. ดุลยโชติ ชลศึกษ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา (6 ก.พ. 61) <รูปภาพ>
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ข้อเสนอโครงการนวัตรกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2559 จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ จากผลงาน การพัฒนาสันชะลอความเร็วอัจฉริยะ โดย ปรินทร วณิชชยังกูร และ พงษ์นรินทร์ อยู่มา โดยมี รศ. ดร. ดุลยโชติ ชลศึกษ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา (19 ส.ค. 59) <ประกาศผล>
  • รางวัลชมเชย  โครงการประกวดนวัตกรรมยานยนต์ครั้งที่ 6 ในงานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 32 จากผลงานเนินชะลอความเร็วอัตโนมัติ V2 (Automatic Speed Bump V2)  โดย   ปรินทร วณิชชยังกูร และ พงษ์นรินทร์ อยู่มา โดยมี รศ. ดร. ดุลยโชติ ชลศึกษ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา (4 ธ.ค. 58) <รายละเอียด>
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 โครงการประกวดนวัตกรรมยานยนต์ครั้งที่ 4 ในงานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 30 จากผลงาน SPEED BUMP -  เนินชะลอความเร็วแบบพับได้อัตโนมัติ โดย กิดานนท์ พรหมวงษ์,  ธนยศ ทิมสุวรรณ, ชยันต์ จันทสาร และ อรรถพร อัจฉริยชีวิน โดยมี รศ. ดร. ดุลยโชติ ชลศึกษ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา  (30 พ.ย. 56) <รายละเอียด>
Amphitrike
Amphitrike คือการประกอบกันของรถสามล้อนอนขี่ (Trike) ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นพิเศษ กับเรือคายัก  ทำให้สามารถขับเคลื่อนไปบนพื้นแห้ง พื้นที่น้ำท่วม และพื้นน้ำได้ จึงมีประโยชน์สำหรับสภาวะน้ำท่วม 
  • รางวัลเหรียญเงิน จาก 41st International Exhibition of Inventions of Geneva ในหมวดสิ่งประดิษฐ์เพื่อการกีฬาและสันทนาการ จากผลงาน Amphitrike โดย ชัยพร นันทกิจ และคณะ โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาคือ ผศ.ดร.บรรยงค์รุ่งเรืองด้วยบุญ และ รศ. ดร. ดุลยโชติ ชลศึกษ์  (10-14 เม.ย. 56) <รายละเอียด>
  • รางวัลชนะเลิศ จากโครงการประกวดนวัตกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 3 ในงานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 29  จากผลงาน พาหนะสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก (Amphitike V2.0) โดย ชัยพร นันทกิจ และคณะ โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาคือ ผศ.ดร.บรรยงค์รุ่งเรืองด้วยบุญ และ รศ. ดร. ดุลยโชติ ชลศึกษ์ (ธ.ค. 55) <รายละเอียด>

 

TU Formers
รถแข่ง Student formula ที่ถูกพัฒนาขึ้นทั้งหมดโดยนักศึกษา เพื่อเข้าแข่งขันใน TSAE Auto Challenge นอกจากนี้นักศึกษาในทีมยังพัฒนาพาหนะหลากหลายประเภทเข้าร่วมการแข่งขันรายการอื่นๆด้วย
  • TU Formers III รถแข่ง Student Formula คันที่สามของ ชมรมเทคโนโลยียานยนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มี รศ.ดร. ดุลยโชติ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาร่วมกับ ผศ. ดร. บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ (ม.ค. 55) <รายละเอียด>
  • รางวัลชมเชยจากการแข่งขัน Bosch Cordless Racing ทีม All toasted ของนักศึกษา TEP/TEPE โดยมี รศ. ดร. ดุลยโชติ ชลศึกษ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา (ก.ค. 54) <รายละเอียด>
  • รางวัล Best Fuel Economy จากการแข่งขัน TSAE Auto Challenge 2011  ณ สนามไทยบริดจ์สโตน จังหวัดสระบุรี โดยทีม TU Formers II ชมรมเทคโนโลยียานยนต์ มี รศ. ดร. ดุลยโชติ ชลศึกษ์ และ ผศ. ดร. บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา (10-12 ธ.ค. 53) <รายละเอียด>
  • TU Formers  รถแข่ง Student Formula คันแรกของ ชมรมเทคโนโลยียานยนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มี รศ.ดร. ดุลยโชติ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก (พ.ย. 52) <รายละเอียด>

การให้คำปรึกษาและบริการทางวิศวกรรม  
 
  • 2565 โครงการศึกษาแนวทางการบูรณะสะพานกรุงเทพ
    เจ้าของโครงการ : กรมทางหลวงชนบท
    ตำแหน่ง : ผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องกล
    หน้าที่/ลักษณะงาน : ตรวจประเมินสภาพของชิ้นส่วนทางกล และร่วมเสนอแนวทางการปรับปรุงระบบทางกลสำหรับเปิด-ปิด ช่วงกลางสะพานแบบ double-leaf bascule ความยาว 60 เมตร ของสะพานกรุงเทพ (ใช้งานตั้งแต่ พ.ศ. 2502)

  • 2563 - 2564 โครงการศึกษาแนวทางการบูรณะโครงสร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้า
    เจ้าของโครงการ : กรมทางหลวงชนบท
    ตำแหน่ง : ผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องกล
    หน้าที่/ลักษณะงาน : ตรวจสอบการออกแบบระบบทางกลแบบใหม่สำหรับการเปิด-ปิดช่วงกลางสะพานแบบ double-leaf bascule ความยาว 60 เมตร ของสะพานพระพุทธยอดฟ้า (สร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2472 ปัจจุบันเปิดไม่ได้)

  • 2563 กิจกรรมส่งเสริมการเพิ่มผลิตภาพของ SMEs ด้วยระบบ Visualize
    ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพ SMEs ด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital for SMEs)
    เจ้าของโครงการ : กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
    ตำแหน่ง : ที่ปรึกษา
    หน้าที่/ลักษณะงาน : ให้คำปรึกษาและส่งเสริมวิสาหกิจในการใช้ระบบติดตามอัจฉริยะเพื่อเพิ่มผลิตภาพ

  • 2549 - 2552  วิศวกรเครื่องกล ออกแบบระบบท่อน้ำและท่ออากาศอัดในโครงการสร้างโรงงาน อุตสาหกรรมอาหารแช่แข็งจำนวน 4 แห่ง
    เจ้าของโครงการ : กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

  • 2545 - 2555  ร่วมในโครงการต่างๆ ด้านการอนุรักษ์พลังงานในโรงงานและอาคาร ผ่านสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    เจ้าของโครงการ : กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
    ตำแหน่ง : ผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์พลังงาน
    หน้าที่/ลักษณะงาน : ให้คำปรึกษา อบรมให้ความรู้ ปลูกสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์พลังงาน และนำเสนอมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ในโรงงานและอาคาร 33 แห่ง

     








 
  งานอื่นๆ  
 
  • กรรมการพิจารณากลั่นกรองบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งพนักงานมหาวิทยาลัย สายวิชาการ กลุ่มวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2562 - 2565
     
  • ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความในวารสาร และการประชุมวิชาการ อาที วารสารวิจัย มข., วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, วิศวสารลาดกระบัง, MENETT, TSME-ICOME เป็นต้น
     
  • กรรมการ/ที่ปรึกษา ในการตัดสินโครงการรางวัลนวัตกรรม อาทิ  กรรมการประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ ISUZU 2014, โครงการประกวดนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์และออกแบบผลิตภัณฑ์ TUIPI 2558, การประกวดรางวัลนวัตกรรมของกระทรวงกลาโหม 2559, 2560 เป็นต้น
     
  • ให้ความเห็นในฐานะผู้เชี่ยวชาญในรายการข่าวทางโทรทัศน์ และประชาสัมพันธ์ผลงานของมหาวิทยาลัยทางสื่อโทรทัศน์ วิทยุ และสิ่งพิมพ์ <รายละเอียด>
     
  • ผู้ออกแบบตราสัญลักษณ์และงานกราฟิกให้หน่วยงานภายในคณะฯ ในช่วงปี 2549 - 2551 <รายละเอียด>




 
 
 
 

กลับไปด้านบน

 
 

กลับไปหน้าแรก

 
 

ดุลยโชติ ชลศึกษ์
ห้อง 410 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ต. คลองหนึ่ง อ. คลองหลวง จ. ปทุมธานี 12120
โทร 0-2564-3001 ต่อ 3149  โทรสาร 0-2564-3023  อีเมล cdulyach@engr.tu.ac.th