นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ คว้ารางวัลชนะเลิศจากโครงการประกวดนวัตกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 10 
ในงาน มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 36

บริษัท สื่อสากล จำกัด ผู้จัดงาน มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 36 ได้จัดโครงการประกวดนวัตกรรมยานยนต์ครั้งที่ 10  (10th Motor Expo Automotive Innovation Award 2019) เพื่อเป็นเวทีให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา ได้แสดงทักษะและความคิดสร้างสรรค์ในการ ส่งผลงานนวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์เกี่ยวกับยานยนต์  โดยการคัดเลือกผลงานมีทั้งหมดสามรอบ จากรอบแรกคัดผลงานให้เหลือ 10 ทีม รอบที่สองคัดให้เหลือ 5 ทีม โดยรอบสุดท้ายมีการประกาศผลและมอบรางวัลไปเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2562 ในงานมหากรรมนานยนต์ ครั้งที่ 36 ณ ชาลเลนเจอร์ อิมแพค เมืองทองธานี
  

ในปีนี้ผลงานจาก ห้องปฏิบัติการออกแบบและพัฒนาต้นแบบทางวิศวกรรมอย่างสร้างสรรค์ (CED2) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศ

รางวัลชนะเลิศ

ระบบคัดกรองอัจฉริยะสำหรับเลนจักรยาน
(Intelligent Screening System for Bicycle Lane)

โดย นายสุริยา สารธิมา และ นาย เทพพงษ์ เทพวงศ์ศิริรัตน์ (พัฒนาต่อจากผลงานของ นราวิชญ์ เหล่าสนธิ์ และนายณัฐภัทร ทวีวงศ์)
โดยมี รศ.ดร. ดุลยโชติ ชลศึกษ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
ระบบป้องกันจักรยานยนต์เข้าไปใช้ทางจักรยานช่วยเพื่อเพิ่มความสะดวก และความปลอดภัย ต่อผู้ใช้จักรยานในเลนจักรยาน โดยใช้ระบบไม้กั้นขนาดเล็ก พร้อมกล้องวิดีโอ ควบคุมด้วยปัญญาประดิษฐ์ ที่ถูกฝึกฝนด้วยการเรียนรู้ลึก (A.I. – Deep Learning) เพื่อวิเคราะห์ภาพจากกล้องแล้วแจกแจงชนิดของวัตถุ จากนั้นจะสั่งการให้ไม้กั้นเปิดเพื่อให้จักรยานผ่านเท่านั้น หากวัตถุอื่นผ่านเข้ามา ไม้กั้นจะไม่เปิด
<วิดีโอ>

รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1
พาหนะปัญญาประดิษฐ์ ขับเคลื่อนอัตโนมัติ สำหรับผู้พิการทางสายตา
(Artificial Intelligent Autonomous Vehicle for the Blinds)

โดย ทีม JMF2 ซึ่งมีสมาชิกประกอบด้วย นายพรหมสุรินท์ พุทธธรรมวงศ์  นส.ภูริชญา อังบุญธร และ นส.พัชรวรรณ ศรีเดช โดยมี รศ.ดร. ดุลยโชติ ชลศึกษ์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิศาล แก้วประภา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

 JMF2 ได้นำแรงบันดาลใจจากสุนัขนำทางคนพิการทางสายตากลุ่มแรกของอังกฤษ ซึ่งประกอบด้วย Judy, Flash, Folly และ Meta  มาพัฒนานวัตกรรมพาหนะนะทาง โดยในส่วนของพาหนะได้นำสูกเตอร์ไฟฟ้ามาดัดแปลงให้เป็นแพลตฟอร์มสามล้อยืนขับ พร้อมเพิ่มกลไกบังคับเลี้ยวอัตโนมัติด้วยเซอร์โวมอเตอร์ ซึ่งสามารถเปลี่ยนโหมด auto และ manual ด้วยโซลินอยด์   สำหรับส่วนควบคุมอัตโนมัติ ได้นำกล้องสามมิติ Kinect พร้อมเซ็นเซอร์วัดระยะหลายรูปแบบ มาใช้เป็นตาของพาหนะ และพัฒนาโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์บน Intel NUC สื่อการกับระบบบังคับเลี้ยวและขับเคลื่อนผ่าน robot operating system เพื่อทำการประมวลผลสร้างเส้นทาง ขับเคลื่อนพาหนะไปยังจุดหมายที่กำหนด โดยสามารถหลบหลีกสิ่งกีดขวางระหว่างทางได้
<วิดีโอ>

ขอขอบคุณบริษัท สื่อสากล จำกัด ผู้จัดการประกวด และคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่ให้คำแนะนำในการปรับปรุงผลงาน ขอบคุณช่างเทคนิคภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลที่ช่วยดูแลและอำนวยความสะดวกในการสร้างผลงาน ขอบคุณ ผศ.ดร. กริช เจียมจิโรจน์ คุณอภินันทน์ชุ่มสูงเนิน และคุณนิธิวัฒน์ ตอองอ่อน ที่ให้การสนับสนุนในการผลิตชิ้นส่วน


Intelligent Screening System for Bicycle Lane



A.I. Autonomous Vehicle for the Blinds


ขอบคุณภาพประกอบจาก www.autoinfo.co.th  ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
https://www.autoinfo.co.th/online/305081/
http://www.motorexpo.co.th/automotive_innovation_award
https://www.facebook.com/MotorExpoInnovation/

 



 


 

 

 

 

   

 

 

[Home]
 Last update 06/17/2020

ดุลยโชติ ชลศึกษ์
ห้อง 410 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ต. คลองหนึ่ง อ. คลองหลวง จ. ปทุมธานี 12120
โทร 0-2564-3001 ต่อ 3149  โทรสาร 0-2564-3023  อีเมล cdulyach@engr.tu.ac.th