ผลงานของ TU Formers III ในการแข่งขัน TSAE Auto Challenge 2011 Student Formula

 

การแข่งขัน TSAE Auto Challenge 2011 Formula Student เป็นการแข่งขันออกแบบ สร้าง และ แข่งรถ ในระดับอุดมศึกษา เพื่อคัดผู้ชนะเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันที่ประเทศญี่ปุ่น การแข่งขันในปีนี้จัดขึ้นที่ สนามทดสอบรถยนต์ ไทยบริจสโตน จังหวัดสระบุรี ในวันที่ 8-10 มกราคม. 2555 การแข่งขันนี้ มีการให้คะแนนเพื่อหาผู้ชนะในด้านต่างๆ ได้แก่ Design, Cost, Presentation, Acceleration, Skidpad, Autocross, Endurance, Fuel Economy และ Overall Score ซึ่งปีนี้มีทีมสมัครเข้าแข่ง 36 ทีม จากสถาบันการศึกษาชั้นนำทั่วประเทศ แต่มาร่วมแข่งขันเพียง 24 ทีม

ปีนี้ทีม TU Formers จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงแข่งเป็นปีที่ 3 โดยมีทีมนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 4 จากโครงการ TEPE และภาคปกติ เป็นผู้ออกแบบสร้าง และ ขับแข่งขัน โดยโครงการในปีนี้ถูกวางแผนมาอย่างดี แต่ก็ต้องมาพบกับอุปสรรคชุดใหญ่จากวิกฤติอุทกภัยในช่วงเดือน ต.ค. ถึง พ.ย. 54 ซึ่งน้ำเข้าท่วมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สูงถึง 2 เมตร ทำให้งานทุกอย่างหยุดลง ซึ่งหลังน้ำลดเมื่อปลายเดือน พ.ย. เครื่องจักรของอาคารปฏิบัติเครื่องกลได้รับความเสียหายเกือบทั้งหมด แต่ก็ยังโชคดีที่รถแข่ง TU Formers 3 ไม่ได้รับความเสียหาย อย่างไรก็ตามด้วยความเสียหายของอาคารปฏิบัติการ ซึ่งคาดว่าจะไม่มีไฟฟ้าจนถึงเดือน ก.พ. 55  ทำให้ทีมนักศึกษาต้องขนย้ายโครงรถและชิ้นส่วน ไปประกอบที่โรงงาน HHP จังหวัดระยองที่ให้ความอนุเคราะห์สถานที่และอุปกรณ์ ตั้งแต่วันที่ 12 ธ.ค. โดยเรามีเวลาสร้างเพียงสามสัปดาห์

รถกลับมาถึง ม.ธ. ในคืนวันที่ 5 ม.ค. ด้วยความสมบูรณ์ประมาณ 90% การเก็บรายละเอียดและแก้ปัญหาจุกจิก ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง 48 ชั่วโมงจนมาถึงเช้าวันแข่ง 8 ม.ค. 55 ซึ่งเป็นเหตุให้เดินทางไปไม่ทันตรวจ Cost และถูกหักคะแนน 100 คะแนน แต่ก็ทำผลงานได้ดีในด่าน Presentation และDesign จากนั้นการเข้าแข่งขันก็ต้องล่าช้าเนื่องจากต้องแก้ไขตัวรถหลายรายการให้ผ่านด่าน Inspection จากนั้นในวันที่สองของการแข่งขันสถานการณ์ก็แย่ลงอีก เมื่อรอยเชื่อมที่เพลาขับหลังขาดระหว่างการทดสอบเบรค ซึ่งต้องใช้เวลาซ่อมเกือบชั่วโมง ทำให้ลงแข่ง Acceleration และ Skidpad ไม่ทัน  อย่างไรก็ตามเรายังมีเวลาลงแข่งขัน รายการ AutoCross ตอนเย็น รถคันนี้ก็สามารถทำผลงานได้อย่างดีตามที่คาด ทำให้ในวันสุดท้ายเราถูกจัดลำดับให้วิ่ง Endurance ในกลุ่มบ่าย

ในการแข่งขันวันสุดท้าย ทีมงานได้นำเพลาชุดใหม่ที่ไม่มีรอยเชื่อมมาเปลี่ยนใส่แทน แต่ก็เกิดความผิดพลาดเมื่อพบว่าร่องสไปล์นเพลาขับไม่ตรงกับร่องของ CV ทำให้ต้องลุ้นระทึกเปลี่ยนหัวเพลาในเวลา 10 นาที เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกปรับออกจากการแข่ง Endurance ซึ่งเราก็สามารถทำได้ทัน และลงวิ่ง Endurance ทำเวลาได้ดี แต่ในรอบที่ 18 เพลาขับเจ้ากรรมมาขาดอีกครั้ง เป็นการปิดฉากการแข่งขันในครั้งนี้ ซึ่งแม้จะเสียดายเล็กๆ (ถ้ามีเวลาอีก 7 วัน รับรอง...)  แต่จริงๆแล้วเรามาไกลกว่าที่คิดไว้มาก (อย่าลืมว่าน้ำเพิ่งจะท่วมบ้านเรา) ขอแสดงความยินดีกับ ม.สยาม แชมป์ปีนี้

ขอขอบพระคุณ ลุงชิน และ H.H.P. Machinery สำหรับความช่วยเหลือทุกอย่าง, ขอบคุณ ภาคฯเคมี ที่เอื้อเพื้อสถานที่ให้เราในช่วงใกล้วันแข่ง,  ขอบคุณ TEP/TEPE, Vitamilk และ Nissan ที่ให้การสนับสนุน ขอบคุณหลายๆทีมที่ช่วยเหลือเราในวันแข่ง และขอบคุณ TSAE ผู้จัดรายการนี้

สวัสดีปีใหม่ 2555 555 555

 


ผลการแข่งขัน

Static events

 

Dynamic events

รายการ: คะแนน/เต็ม  (ลำดับ) : หมายเหตุ   รายการ: คะแนน/เต็ม  (ลำดับ) : หมายเหตุ
Cost:  -100/100 (20) : มาถึงสนามไม่ทันกำหนดการตรวจ   Acceleration: 0/75 (20) : DNA-ลงแข่งไม่ทัน
Design: 100/150 (14)   Skid pad: 0/50 (17) : DNA-ลงแข่งไม่ทัน
Presentation: 54/70 (6)   Autocross: 74/150 (9)
    Endurance: 0/350 (13) : DNF-เพลาขาดรอบที่ 18/22
    Fuel Economy: 0/100 : DNA-Endurance ไม่จบ
     
    คะแนนรวม: 129/1000 (20)



ประมวลภาพเหตุการณ์

 
  กว่าจะเป็นรถแข่ง




12 ม.ค. 54  ประชุมทีมครั้งแรก
 

20 ม.ค. 54  ประชุมทีมอีกครั้ง
 

ภาพรวม
 

วิเคราะห์เฟรม
 

ออกแบบชุดดิฟ
 

ออกแบบบอดี้

มิ.ย. 54 ขึ้นโครง
 

ก.ค. 54 ติดเครื่อง

 ส.ค. 54 วางเครื่อง
 

เชื่อมโครง
 

ประชุมติดตามงาน
 

เตรียมแบบทำ Cost Report
 

   

ก.ย. 54 ทำ Cost Report ทั้งเดือน
 

Cost Report เล่มหนา
 

   
  น้ำท่วม 2 เดือน





22 ต.ค. น้ำท่วม ม.ธ. ศูนย์รังสิต
 

ย่านรังสิต เละ
 

ME Workshop ไม่เหลือ
 

TU Formers II วางอยู่บนเก้าอี้
 

รถเรายังปลอดภัยแต่ไปไหนไม่ได้
 

สภาพหลังน้ำลด
 

12 ธ.ค. ย้ายไประยอง
 

ทำ body ต่อที่ระยอง
 

H.H.P. ระยอง
 

H.H.P. ระยอง
 

H.H.P. ระยอง
 

5 ม.ค. กลับคณะฯ
 

 48 ช.ม. สุดท้าย




เก็บรายละเอียด
 
เตรียม Presentation ?
 
ได้ลองวิ่ง 10 นาที
 
แก้ปัญหาน๊อตล้อในความมืด
 
ตีสามแล้ว
 
ตีสี่ใส่บอดี้
 
เช้าแล้ว
 
พร้อมออกเดินทาง
 

 วันแข่ง 8 - 10 ม.ค. 55


บรรยากาศในสนาม Thai Bridgestone Proving Ground อากาศค่อนข้างร้อน ตามเคย
 
มาสายกรรมการไม่ให้ตรวจ Cost
 
รอ Inspection
 
Inspection มีแก้หลายรายการ
 
Tilt เสร็จขนรถกลับ ม.ธ.
 
วันที่สองผ่าน Inspection ตอนบ่าย
 
Brake Test เพลาขาด
 
ซ่อมเพลา ผ่านเบรค
 
ภาพนี้คือรางวัลของทีมงาน
 
Autocross ยามเย็น
 
ยิ้มได้แล้ว
 
วันสุดท้ายเปลี่ยนเพลาใหม่
 
ฉากไคลแมกซ์ของวันสุดท้าย
 
Endurance เร็วใช้ได้เลย
 
เกือบ 18 รอบแล้ว
 
เสียดายเพลาขาดซะก่อน
 
พี่ๆมาเชียร์กันหลายคน
 
ถ่ายภาพหมู่ซะหน่อย อีกรูป ยังไม่หมด  ?
 
สุดสายตา เกือบลืมถ่ายรถคันอื่น
 
กินซาลาเปาก่อนกลับบ้าน
 
---- TU Formers III ----
 
 เก็บตก




 


 

รวมรุ่น
 

Evolution

Showcase

 


สมาชิกทีม TU Formers III

 ผู้จัดการทีม นายนววิธ วิลาลัย

 หัวหน้าทีม   นายเชษประทาน ทองเลิศ
 
       
 โครงสร้าง  นายภควัตร แสงเพชร
 
 ระบบรองรับ  นายเชษประทาน ทองเลิศ
 บอดี้  นายเจน ต้นประดิษฐ์  ระบบบังคับเลี้ยว  นายชัยชนะ คงศิริมงคลชัย
 
 เครื่องยนต์    นายทศพล ไชยยนต์
 นายภาณุพงษ์ ฤทธิบุญไชย
 
 ระบบเบรค
 และคลัทช์
 นายจักรี มีกลิ่น
 นายสาธิต หอมจันทรา
 ระบบส่งกำลัง  นายนววิธ วิลาลัย
 นายธีรภัทร อัจฉริยชีวิน
 
 ระบบไฟฟ้า  นายกวินธร์ เทียนรุ่งโรจน์
 หน่วยสปอนเซอร์  นายณัฐพงศ์ พุทธสะแสง
 
 ที่ปรึกษาพิเศษ  นายธีรพงศ์ สมุทรอัษฎงค์
 ทีมนำเสนอ  น.ส. จินดารัตน์ ศรีสุข
 นายนววิธ วิลาลัย
 
   
 ทีมสนับสนุน  นายฐิติกร โตแสงชัย
 นายธีระวัฒน์ ตระการลือชัย
 นักขับ  นายณัฐ โกมาลากุล
 นายพชร วุฑฒิชาติ
 นายฐิติกร โตแสงชัย
 นายภควัตร แสงเพชร
       

 
 อาจารย์ที่ปรึกษา
 รศ. ดร. ดุลยโชติ ชลศึกษ์ / ผศ. ดร. บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ
 
 ทีมช่าง                 
 อภินันท์ ชุ่มสูงเนิน / ไพโรจน์ ทับพุ่ม / นิธิวัฒน์ ตองอ่อน / คคนันต์ ธรรมทันตา
 
 ประสานงานธุรการ
 เนาวรัตน์ บุญธนสาร / ยุวดี เบ็ญมาศ
 

             

 

 Last update 11/07/2560

ดุลยโชติ ชลศึกษ์
ห้อง 410 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ต. คลองหนึ่ง อ. คลองหลวง จ. ปทุมธานี 12120
โทร 0-2564-3001 ต่อ 3149  โทรสาร 0-2564-3023  อีเมล cdulyach@engr.tu.ac.th